วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2554

วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554

รอบรู้ สัตว์เศรษฐกิจ




สัตว์เศรษฐกิจ
สัตว์เลี้ยงที่มีคุณค่าและมีปริมาณมากพอที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ ตัวอย่างของสัตว์เศรษฐกิจที่เป็นที่รู้จักกันมีอาทิเช่น โค กระบือ ไก่ สุกร เป็นต้น โดยสัตว์เศรษฐกิจของประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ คือแกะซึ่งขนของมันสามารถนำรายได้เข้าประเทศเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นก็มีโคซึ่งผลผลิตทั้งเนื้อ หนัง สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลผลิตส่งขายไปได้ทั่วโลก



สำหรับประเทศไทยสัตว์เศรษฐกิจที่นำรายได้เข้าประเทศ มีอาทิเช่น ไก่ ซึ่งการแปรรูปทั้งในลักษณะไก่ต้มสุก และไก่แช่แข็งส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น ยุโรปและสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ก็มีกุ้งกุลาดำ ซึ่งมีการเลี้ยงอย่างกว้างขางทางภาคใต้ของประเทศและสามารถส่งออกนำรายได้เข้าประเทศได้มหาศาลเช่นกัน ปัจจุบันมีการพัฒนาสัตว์เศรษฐกิจใหม่ขึ้นอีกหลายชนิดทั้งจากการนำสัตว์ป่ามาเลี้ยงในเชิงพาณิชย์ เช่น หมูป่า และการนำเข้ามาจากต่างประเทศ นกกระจอกเทศ ซึ่งสามารถนำมาเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์ โดยมีแนวโน้มจะสามารถผลิตในเชิงพาณิชย์ได้ในอนาคต เพราะสามารถนำทุกส่วนมาทำเป็นผลผลิตขายได้





กระบือ

ลักษณะทั่วๆไป

        ควายเป็นสัตว์มีสี่ขา เท้าเป็นกีบ ตัวขนาดใกล้เคียงกับวัวโตเต็มวัยเมื่ออายุระหว่าง 5-8 ปี น้ำหนักตัวผู้โตเต็มวัยโดยเฉลี่ย 520-560 กิโลกรัม ตัวเมียเฉลี่ยประมาณ 360-440 กิโลกรัม ตัวผู้จะใหญ่กว่าตัวเมียเล็กน้อย มีผิวสีเทาถึงดำ (บางตัวมีสีชมพู เรียกว่า ควายเผือก) มีเขาเป็นลักษณะเด่นเฉพาะตัว ปลายเขาโค้งเป็นวงคล้ายพระจันทร์เสี้ยว
ควายเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ลูกควายจะกินนมแม่จนอายุประมาณ 1 ปี 6 เดือน ควายจะเจริญเติบโตใช้แรงงานได้ระหว่างอายุ 2.5-3 ปี ช่วงที่ใช้งานได้เต็มที่ คือระหว่างอายุ 6-9 ปี ควายแต่ละตัวจะใช้งานได้จนอายุย่างเข้า 20 ปี อายุควายโดยทั่วไปเฉลี่ยประมาณ 25 ปี








ในทางเศรษฐกิจ


การทำฟาร์มกระบือนม
นมควาย

กำเนิดฟาร์มควายนมแห่งแรกในไทย

      ชาริณี ชัยยศลาภ ผู้จัดการบริษัท มูร์ร่าห์ แดรี่ จำกัด เล่าให้ฟังว่า พื้นฐานครอบครัวทำธุรกิจอุตสาหกรรมเครื่องหนัง โดยมีการเลี้ยงควายพื้นบ้านของไทย ที่เรียกกันทั่วไปว่า “ควายปลัก” ควบคู่ไปด้วย เพื่อนำหนังมาใช้เป็นวัตถุดิบ
       กระทั่ง ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์มณีวรรณ กมลพัฒนะ ผู้เชี่ยวชาญด้านควาย จากคณะสัตวแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกี่ยวกับ “ควายนมพันธุ์มูร์ร่าห์” ซึ่งมีแหล่งกำเนิดจากประเทศอินเดีย มีคุณสมบัติให้น้ำนมเฉลี่ย 20 กิโลกรัม (กก.)/ตัว/วัน ระยะเวลาให้นม 9 – 10 เดือน ซึ่งผู้บริโภคในต่างประเทศ นิยมดื่มนมควายสูงกว่านมวัวเสียอีก ตลาดโลกจึงมีความต้องการมหาศาล ทำให้สนใจทำฟาร์มควายนมทันที จากนั้นจึงศึกษาดูงานการทำฟาร์มควายนมในต่างประเทศกว่า 2 ปี ทั้งที่อิตาลี จีน บราซิล อินเดีย และบัลแกเรีย แล้วเริ่มลงมือทำในเมืองไทยเมื่อปี 2546

<><><><><><><><><><><><>
<><><><><><><><><><><><>
ควายพันธุ์มูร่าห์
สำหรับควายพันธุ์มูร่าห์ เป็นควายสายพันธุ์นม ที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย ลักษณะเด่นเป็นควายสีดำเข้ม หน้าผากนูน เขาสั้น และบิดม้วนงอ ชอบอยู่ในน้ำ ไม่ชอบอยู่ในปลักเหมือนควายไทย ควายพันธุ์มูร่าห์สามารถปรับตัวได้ดีกับสภาพอากาศในประเทศไทย จึงไม่มีปัญหาในการดูแลมากนัก


       ส่วนเรื่องการเลี้ยงควาย คุณรัญจวนเล่าว่า "การเลี้ยงควายต้องมีการจัดการที่ดี มีแปลงหญ้า มีน้ำ สภาพที่ดินบริเวณนี้เป็นที่ราบหุบเขา มีสูงมีต่ำ แหล่งน้ำธรรมชาติก็มีอยู่บ้าง แต่ส่วนหนึ่งก็ต้องมาขุดเอาเอง เพราะต้องการให้มีน้ำกระจายทั่วถึงในทุกคอก ส่วนตอนนี้ก็เริ่มให้ควายกินต้นข้าวโพดฝักอ่อนแทนหญ้า เนื่องจากมีโปรตีนสูงกว่า และมีระยะเวลาเก็บเกี่ยวใกล้เคียงกันคือ 50 วัน ที่สำคัญเราก็จะมีรายได้จากการขายข้าวโพดฝักอ่อนด้วย ทำให้มีประโยชน์สองต่อคือต้นเป็นอาหารควาย ส่วนฝักอ่อนข้าวโพดก็ขายได้ด้วย"

ควายเนื้อ
   เนื้อควายส่วนใหญ่ไม่ค่อยเห็นในตลาดเนื้อมากนัก ส่วนใหญ่จะนำไปแปรรูป เป็นลูกชิ้นวัว เอ็นวัว ต่างๆ หรือ แอบอ้างขายผสมกับเนื้อวัว ตามตลาดเล็กๆที่ไม่ได้ควบคุม
โคเนื้อ
โคพื้นเมือง
      โคพื้นเมืองของไทยมีลักษณะใกล้เคียงกับโคพื้นเมืองของประเทศเพื่อนบ้านในแถบเอเชีย ลักษณะรูปร่างกระทัดรัด ลำตัวเล็ก ขาเรียวเล็ก ยาว เพศผู้มีหนอกขนาดเล็ก มีเหนียงคอ แต่ไม่หย่อนยานมาก หูเล็ก หนังใต้ท้องเรียบ มีสีไม่แน่นอน เช่น สีแดงอ่อน เหลืองอ่อน ดำ ขาวนวล น้ำตาลอ่อน และอาจมีสีประรวมอยู่ด้วย เพศผู้โตเต็มที่หนักประมาณ 300-350 ก.ก. เพศเมีย 200-250 ก.ก.
โคพันธุ์ชาร์โรเล่ส์
    มีถิ่นกำเนิดในประเทศฝรั่งเศส มีสีขาวครีมตลอดตัว รูปร่างมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขาสั้น ลำตัวกว้าง ยาว และลึก มีกล้ามเนื้อตลอดทั้งตัว นิสัยเชื่อง เป็นโคที่มีขนาดใหญ่มาก เพศผู้เมื่อโตเต็มที่หนักประมาณ 1,100 ก.ก. เพศเมีย 700-800 ก.ก.





โคพันธุ์ซิมเมนทัล
    มีถิ่นกำเนิดในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ นิยมเลี้ยงกันในประเทศยุโรป ในเยอรมันเรียกว่าพันธุ์เฟลคฟี (Fleckvieh) ได้รับการปรับปรุงพันธุ์เป็นโคกึ่งเนื้อกึ่งนม ในประเทศสหรัฐอเมริกานำไปคัดเลือกปรับปรุงพันธุ์ให้เป็นโคเนื้อ ลำตัวมีสีน้ำตาลหรือแดงเข้มไปจนถึงสีฟางหรือเหลืองทองและมีสีขาวกระจายแทรกทั่วไป หน้าขาว ท้องขาว และขาขาว เป็นโคขนาดใหญ่ โครงร่างเป็นสี่เหลี่ยม ลำตัวยาว ลึก บั้นท้ายใหญ่ ช่วงขาสั้นและแข็งแรง เพศผู้โตเต็มที่หนักประมาณ 1,100-1,300 ก.ก. เพศเมีย 650-800 ก.ก.
โคพันธุ์ตาก
       เป็นโคลูกผสมระหว่างพันธุ์ชาร์โรเล่ส์กับพันธุ์บราห์มัน โดยกรมปศุสัตว์ได้มอบหมายให้ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ตาก ทำการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์ให้เป็นโคเนื้อพันธุ์ใหม่ที่โตเร็ว เนื้อนุ่ม เพื่อทดแทนการนำเข้าพันธุ์โคและะเนื้อโคคุณภาพดีจากต่างประเทศ การสร้างพันธุ์ในฝูงปรับปรุงพันธู์ดำเนินการโดยนำน้ำเชื้อโคพันธุ์ชาร์โรเล่ส์คุณภาพสูงจากประเทศฝรั่งเศส ผสมกับแม่โคบราห์มันพันธุ์แท้ ได้โคลูกผสมชั่วที่ 1 (เรียกว่าโคพันธุ์ตาก 1) ที่มีเลือด 50% ชาร์โรเล่ส์ และ 50% บราห์มัน แล้วผสมแม่โคเพศเมียชั่วที่ 1 ดังกล่าวด้วยน้ำเชื้อหรือพ่อบราห์มันพันธุ์แท้ได้ลูกโคชั่วที่ 2 (เรียกโคพันธุ์ตาก 2) ซึ่งมีเลือด 25% ชาร์โรเล่ส์ และ 75% บราห์มัน จากนั้นผสมแม่โคเพศเมียชั่วที่ 2 ด้วยน้ำเชื้อโคพันธุ์ชาร์โรเล่ส์คุณภาพสูง ได้ลูกโคชั่วที่ 3 (เรียกว่าโคพันธุ์ตาก) ซึ่งมีเลือด 62.5% ชาร์โรเล่ส์ และ 37.5% บราห์มัน แล้วนำโคชั่วที่ 3 ผสมกัน คัดเลือกปรับปรุงพันธุ์ให้เป็นโคเนื้อพันธุ์ใหม่ เรียกว่า โคพันธุ์ตาก

โคพันธุ์กำแพงแสน



    เป็นโคพันธุ์ใหม่ปรับปรุงพันธุ์โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน โดยใช้พันธุ์ชาร์โรเล่ส์กับบราห์มัน คล้ายกับโคพันธุ์ตาก แต่โคพันธุ์กำแพงแสนเริ่มต้นปรับปรุงพันธุ์จากโคพื้นเมือง โคพันธุ์กำแพงแสนมีสายเลือด 25% พื้นเมือง 25% บราห์มัน และ 50% ชาร์โรเล่ส์ ส่วนลักษณะและคุณสมบัติต่างๆ คล้ายกับโคพันธุ์ตาก






โคพันธุ์กบินทร์บุรี
        เป็น โคลูกผสมระหว่างพันธุ์ซิมเมนทัลกับพันธุ์บราห์มัน โดยกรมปศุสัตว์ได้มอบหมายให้ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ปราจีนบุรี (ซึ่งตั้งอยู่ที่อำเภอกบินทร์บุรี) ทำการสร้างโคพันธุ์ใหม่ให้เป็นโคกึ่งเนื้อกึ่งนม โดยลูกโคเพศผู้ใช้เป็นโคขุน และแม่โคใช้รีดนมได้ การสร้างพันธุ์ในฝูงปรับปรุงพันธุ์ดำเนินการโดยนำน้ำเชื้อโคพันธุ์ซิมเมนทัล คุณภาพสูงจากประเทศเยอรมันผามกับแม่โคบราห์มันพันธุ์แท้ ได้ลูกโคชั่วที่ 1 ที่มีเลือด 50% ซิมเมนทัล และ 50% บราห์มัน แล้วผสมโคชั่วที่ 1 เข้าด้วยกัน คัดเลือกปรับปรุงให้เป็นโคเนื้อพันธุ์ใหม่เรียกว่า โคพันธุ์กบินทร์บุรี

โคพันธุ์เดร้าท์มาสเตอร์

       เป็นโคพันธุ์ใหม่ที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ในประเทศออสเตรเลีย กรมปศุสัตว์เคยนำเข้ามาศึกษาทดลองเลี้ยง ขณะนี้ยังคงมีเลี้ยงในฟาร์มเอกชนบางแห่ง เป็นโคลูกผสมที่มีสายเลือดโคพันธุ์บราห์มัน 3/8-1/2 พันธุ์ชอร์ทฮอร์น 1/2-5/8 และพันธุ์เฮียร์ฟอร์ดอยู่เล็กน้อย มีสีแดง มีทั้งมีเขาและไม่มีเขา มีตระโหนกเล็กน้อยตรงหัวไหล่ มีเหนียงหย่อนเล็กน้อย ลำตัวลึกเรียบ ทนแล้งและอากาศร้อนชื้น ทนโรคเห็บ การเจริญเติบโตเร็ว เปอร์เซนต์ซากและคุณภาพซากดี

โคพันธุ์ฮินดูบราซิล
         เป็นโคที่มีเชื้อสายโคอินเดียเช่นเดียวกับโคบราห์มัน แต่ปรับปรุงพันธุ์ที่ประเทศบราซิล สีมีตั้งแต่สีขาวจนถึงสีเทาเกือบดำ สีแดง แดงเรื่อๆ หรือแดงจุดขาว หน้าผากโหนกกว้างค่อนข้างยาว หูมีขนาดกว้างปานกลางและห้อยยาวมาก ปลายใบหูมักจะบิด เขาแข็งแรงมักจะเอนไปด้านหลัง หนอกมีขนาดใหญ่ ผิวหนังและเหนียงหย่อนยานมาก เป็นโคที่มีขนาดใหญ่และค่อนข้างสูง เพศผู้โตเต็มที่หนักประมาณ 900-1,200 ก.ก. เพศเมีย 600-700 ก.ก.
โคนม





โคพันธุ์โอลสไตน์ มีถิ่นกำเนิดในประเทศฮอลแลนด์ ต่อมาถูกนำไปเลี้ยงในประเทศต่างๆ จึงเรียกชื่อแตกต่างกันออกไปในประเทศฮอลแลนด์เรียกว่าฟรีเชี่ยน ในอเมริกาเรียกโฮลสไตน์ฟรีเชี่ยน เป็นโคที่มีสีขาวและดำ จึงเรียกทั่วไปว่าพันธุ์ขาวดำ
สีขาวและสีดำจะแตกต่างกันไปบางตัวอาจมีสีดำมากกว่าสีขาว หรือ สีขาวมากกว่าสีดำ ปลายเท้าทั้งสี่และพู่หางต้องมีสีขาว หากมีสีดำหรือขาวทั้งตัว หรือการมีสีดำต่ำกว่าระดับเข่าจะไม่ได้รับ การจดทะเบียนเป็นโคพันธุ์แท้

พันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเชี่ยน (Holstein Friesian)

โคตัวผู้เมื่อโตเต็มที่จะมีน้ำหนักประมาณ 900-1,000 กิโลกรัม ตัวเมียหนักประมาณ 600 - 800 กิโลกรัม จัดเป็นโคนมที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เต้านมใหญ่หัวยาวแคบและตรง ส่วนของลำตัวลึก ไหล่เรียบและกว้าง รูปร่างสามเหลี่ยม ตัวเมียมีนิสัยเชื่องให้ลูกแรกคลอดที่มีขนาดใหญ่ ลูกโคตัวผู้เลี้ยงขุนเป็นโคเนื้อได้ดี เป็นพันธุ์โคนมที่ให้นมเฉลี่ยสูงที่สุด คือ สามารถให้นมได้ประมาณปีละ 5,000 - 8,000 กก. แต่เป็นโคที่มีเปอร์เซ็นต์ไขมันต่ำ คือประมาณ 3.45 เปอร์เซนต์ น้ำนมที่ได้เหมาะที่จะใช้ดื่มเป็นนมสด




ไก่ไข่




ไก่พันธุ์โร๊ดไอร์แลนด์เป็นไก่พันธุ์แท้ที่มีประโยชน์ต่อวงการอุตสาหกรรมไก่เนื้อและไก่ไข่
ในปัจจุบัน
ลักษณะประจำพันธุ์ ขนสีแดงตลอดลำตัว ยกเว้นปลายปีก และหาง มี
สีดำ หงอนจักร 6-11 จักร เหนียงยาน ตุ้มหูแดง ลำตัวใหญ่ยาวและ
กว้าง ผิวหนังขาว ไข่ดก 280 ฟอง/ปี เปลือกไข่สีน้ำตาล อายุเริ่มไข่
160 วัน สามารถนำไปเป็น ปู่ย่าพันธุ์เพื่อผลิตลูกผสมได้อย่าง
หลากหลาย ตามความต้องการของเกษตรกร

ไก่รุ่นโร๊ดไอแลนด์เรด อายุ 8 สัปดาห์ จะเริ่มให้ไข่เมื่ออายุประมาณ 22 สัปดาห์








ไก่เนื้อ

การเลี้ยงไก่เนื้อ เป็นอาชีพเกษตรสาขาหนึ่งที่สร้างรายได้ให้ผู้เลี้ยงสามารถเลี้ยงเอง หรือรับจ้างเลี้ยงก็ได้ เพราะตลาดมีความต้องการไก่เนื้ออยู่ตลอดเวลา บริษัทเอกชนจะจ้างเกษตรกรเลี้ยงไก่เนื้อเป็นจำนวนมาก เนื้อไก่เป็นอาหารที่ให้โปรตีนแก่ร่างกาย มีราคาถูก นิยมนำมาประกอบอาหารรับประทานกันทั่วไป นอกจากนี้มูลไก่ยังสามารถทำปุ๋ยคอกได้เพราะมีธาตุอาหารสูง ในการเลี้ยงไก่เนื้อ ผู้เลี้ยงต้องตัดสินใจว่าจะเลี้ยงไก่เนื้อพันธุ์อะไร ขนาดของฟาร์มเท่าใด วางแผนในเรื่องของโรงเรือน เครื่องมืออุปกรณ์ ค่าแรงงาน ค่าน้ำ และค่าไฟ
สำหรับบริษัทเอกชนที่ว่าจ้างจะทำหน้าที่ผลิตลูกไก่เนื้อ บริการอาหาร การให้วัคซีน การขนส่งหรือให้คำแนะนำต่าง ๆ ซึ่งบริษัทเอกชนที่ว่าจ้างจะให้ความช่วยเหลือในเรื่องการเลี้ยงดู จนสามารถจำหน่ายได้ พร้อมให้ผลตอบแทนแก่ผู้เลี้ยงตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน




ระยะเวลาการเลี้ยง จับขาย ประมาณ 30-45 วัน

น้ำหนักประมาณ 1.5-2 ก.ก.





สุกร




สายพันธุ์ของสุกร


1)Large White(พันธุ์ลาร์จไวท์) เกิดจาการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ Lechester (ไลเคศเตอร์) กับสุกรพันธุ์ Yerkshire (ยอร์คชายร์)เป็นสุกรดั้งเดิมในเมืองยอร์คชายร์ นำเข้าไปที่อเมริกา แคนนาดา ในคตวรรษที่ 19 ลักษณะ ขนและหนังสีขาวตลอดลำตัว บางตัวอาจจะมีจุดสีดำปรากฏที่ผิวหนังบ้าง จมูกยาว หูตั้ง หัวโต ลำตัวยาว แคบลึก ไหล่โต แต่สะโพกไม่โตเห็นเด่นชัดนัก(ตัวผู้โตเต็มที่ 250 - 300 กก. ตัวเมีย 150 - 220 กก.)เจริญเติบโตเร็ว ลูกดก เลี้ยงลูกเก่ง


2)Landrace (พันธุ์แลนด์เรซ) กำเนิดที่ประเทศเดนมาร์กต้นกำเนิดคือ Large White กับพันธุ์ดั้งเดิมของเดนมาร์ก จึงตั้งชื่อว่า Damish Landraace ปรับปรุงโดยเน้นให้สุกรมีเนื้อ 3 ชั้นสวย อเมริกานำเข้าประเทศศตวรรษที่ 19 โดยผสมกับพันธุ์ Poland China ลักษณะ จมูกยาว หัวเรียวเล็ก หูปรกใหญ่ลำตัวยาว จำนวนซี่โครงประมาณ 14 - 17 คู่ หนาลึก ไหล่กว้างหนา ขาสั้น กระดูกเท้าอ่อนกว่าพันธุ์อื่น ให้ลูกดก เลี้ยงลูกเก่ง ให้นมมาก เติบโตเร็ว


3) Doroc Jersey (ดูร็อคเจอร์ซี่) อยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอเมริกา สีแดง บางที่ว่าสีแดงเกิดจากการผสมพันธุ์ ระหว่าง พันธุ์ Tamwoth เป็นลูกผสมของ Jersey Red ผสมกับพันธุ์ Doroc ลักษณะ สีแดงล้วนในปัจจุบันมีสีตั้งแต่ น้ำตาลฟางข้าวถึงน้ำตาลแดงเข้ม แข็งแรง บึกบึน เลี้ยงลูกเก่ง หน้าหักเล็กน้อย โคนหูตั้งปลายหูปรกเล็กน้อย หูใหญ่ปานกลาง ให้เนื้อดี เหมาะใช้เป็นสายพ่อพันธุ์

4) Cherter White (เชสเตอร์ไวท์) เป็นสุกรเมืองเชสเตอร์ ผสมจาก Large White กับ Lincollnshire(จาก 3 สายพันธุ์) ลักษณะ สุกรขาวแต่อาจมีจุดดำ รูปหน้าเล็กสวยงาม หน้าตรงยาวปานกลาง หูปรก ตาโต ตะโพกอวบนูน ลูกดก เลี้ยงลูกเก่ง แต่มีข้อเสียคือไม่ทนต่อสภาพแดด

5) Berckshire (เบอร์กเชียร์) ต้นกำเนิดอยู่ที่เมืองเบอร์กเชียร์ตอนใต้ของอังกฤษ เป็นลูกผสมระหว่าง สุกรอังกฤษ จีน และไทย สีดำ มีสีขาวอยู่ 6 แห่ง คือ หน้าผาก ปลายหาง เท้าทั้ง 4 จมูกสั้น หน้าหัก หน้าผากกว้าง หูเล็กตั้งตรงแต่อายุมากหูจะปรกไปด้านหน้าเล็กน้อย คางใหญ่ย้อยมาถึงลำคอเป็นสุกรขนาดกลางตะโพกใหญ่ บึกบึน ใช้เป็นสุกรสายพ่อพันธุ์ ให้เนื้อมาก

6) Poland China (โปแลนด์ไชน่า) ถิ่นกำเนิดอยู่ที่อเมริกาเป็นพันธุ์ที่ผสมมาจากสุกรรัฐเซีย จีน อังกฤษ ชาวโปแลนด์เลี้ยงจึงขึ้นต้นด้วย Poland แต่สายพันธุ์มาจาก China ลักษณะ สีดำ มีจุดขาว 6 แห่ง 4 แห่งที่เท้า และอีก 2 แห่งที่จมูกและหน้าผาก หน้าผากยาวปานกลาง ลำตัวยาว ลึก หลังกว้าง ให้เนื้อดี หน้าหักเล็กน้อย หูปรก

7) Spotted Poland China เกิดจากการผสมระหว่างสุกรจีนกับ Poland China จะมีสีดำ : ขาว สีขาวที่เพิ่มขึ้นโดยไม่ได้รวมสีขาวที่เท้า

8) Hamshire (แฮมเชียร์) อยู่ตอนใต้ของอังกฤษ มีแถบขาวพาดที่ไหล่ ผสมระหว่างพันธุ์ที่มีสีขาวพาดที่อกกับพันธุ์ของอังกฤษ(Exxes) ลักษณะหน้ายาว หูตั้ง สีดำ ให้ลูกดก แข็งแรง สุกรให้เนื้อ มีความคงทนต่อดินฟ้าอากาศและเชื้อโรค แต่มักเป็นโรคโพรงจมูกอักเสบง่าย

9) Pietrain มาจากเบลเยี่ยม ลำตัวขาว ตะโพกสวย และจะมีกล้ามเนื้อที่ไหล่และตะโพก ที่มีการพัฒนามีลักษณะซากที่ดีกว่าพันธุ์อื่น แต่การเติบโตช้า อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อไม่ดี

พันธุ์สุกรทางการค้า

1) Hypor เป็นลูกผสมทางการค้า ผสมประมาณ 4 - 5 สายพันธุ์ CP นำเข้า

2) Seqhers มีลักษณะ ช่วงลำตัวยาวกว่า Hypor รวมจากสายพันธุ์ต่าง ๆ CP นำเข้า

3) Babcock

สุกรพื้นเมืองในไทย จะเรียกชื่อตามที่อยู่ มีขนาดเล็ก เติบโตช้า หลังแอ่น พุงหย่อน หนังหนา ตะโพกเล็ก อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อต่ำ

1) พันธุ์ไหหลำ เป็นพันธุ์ที่ดีที่สุดในสุกรพันธุ์พื้นเมือง ขนาดหัวใหญ่ปานกลาง คางหย่อน ไหล่กว้าง พุงหย่อน หลังแอ่น ให้ลูกดก เลี้ยงลูกเก่ง ตัวผู้หนัก ประมาณ 120 - 150 กก. ตัวเมียหนักประมาณ 90 - 110 กก. เลี้ยงในภาคกลางและภาคใต้

2)พันธุ์ควาย เลี้ยงมากตามภาคเหนือ สีคล้ายพันธุ์ไหหลำ หน้าผากมีรอยย่นใบหูใหญ่ปรก(ตกปลาย)ปลายหูเล็ก พุงหย่อน หลังแอ่น ขนาดเล็กกว่าพันธุ์ไหหลำ ตามีวงแหวนสีขาวรอยดวงตา เติบโตช้า

3) หมูกระโดนหรือหมูราด คล้ายกับพันธุ์ Berkshire ตัวสั้น ป้อม ใบหูเล็กตั้งตรง ว่องไว ปราดเปรียว หากินในป่าเก่ง กระดูกเล็ก เนื้อแน่น

4) พันธุ์พวง ขนแข็ง ผิวหนังหยาบ คางใหญ่ ไหล่กว้าง ตะโพกเล็ก หลังแอ่น พุงหย่อน

สุกรแบ่งตามการให้เนื้อออกเป็น 3 ประเภทได้แก่

1) Meat Type ให้เนื้อ เนื้อแดงมากไขมันน้อย ลักษณะเด่น คือคุณภาพซาก เช่น Duroc,Berkshire

2) Lard Type ให้ไขมัน ได้แก่จำพวกสุกรพันธุ์พื้นเมืองต่าง ๆ

3) Bacon Type ให้เนื้อเบคอน (เนื้อ 3 ชั้น) เนื้อบริเวณท้อง เช่น Large White ,Landrace


อ้างอิง:: http://www.thaifeed.net/animal/swine/swine-3.html